Featured News
Posts List
Posts Slider
Health
-
อาหารเพื่อสุขภาพ กินอย่างไรให้ร่างกายได้รับสารอาหารเกินพอ?
นอกจากการออกกำลังกายอยู่เป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่คนเราไม่ควรมองข้ามหรือละเลยความสำคัญ ก็คือเรื่องของ “อาหาร” การกิน
เพราะสิ่งต่างๆ ที่เราบริโภคเข้าไปในร่างกายอย่างน้อยวันละ 3 มื้อนั้น เมื่อผ่านการบวนการย่อยและดูดซึม ย่อมส่งผลต่อร่างกายทั้งผลดีและผลเสีย ดังคำกล่าวที่ว่า You Are What You Eat คำพูดนี้ถือเป็นวลีสุดคลาสสิคที่เรามักใช้เพื่อเตือนสติ ก่อนที่จะจัดเต็มกับมื้ออาหารสุดแสนอร่อยตรงหน้า เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าอาหารอร่อยมักไม่ดีต่อสุขภาพ จากกระบวนการหมักและปรุงรสอย่างถึงพริกถึงเครื่อง เมื่อกินเยอะและติดต่อกันนานๆ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารเกินพอดี
โดยเฉพาะความหวาน มัน เค็ม ที่ตอนนี้กลายเป็นต้นตอสำคัญในการป่วยเป็น NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคอ้วน
เมื่อไม่นานมานี้ผลสำรวจของ “เครือข่ายไม่กินหวาน” ที่รวบรวมตำรับอาหารไทยโบราณ 57 สูตร จากนิตยสารแม่บ้านรวมเล่มตีพิมพ์เมื่อปี 2520 เทียบกับสูตรอาหารในเว็บเพจต่างๆ พบว่า ทั้งเมนู แกง – ยำ – น้ำพริก – อาหารจานเดียว ทุกเมนูใส่น้ำตาลเพิ่มเกือบ 2 เท่าตัว ตอกย้ำคำพูดที่ว่าคนไทยติดหวานนั้นไม่เกินความเป็นจริง ไม่เพียงแค่นั้นอาหารไทยยังติดรสเค็มจากเครื่องปรุงต่างๆ ที่นิยมใส่ในการปรุงอาหารด้วย การที่คนเรากินเค็มมากๆ ทำให้ได้รับโซเดียมเกินความจำเป็น สะสมมากเข้ากลายเป็นผลเสียต่อไต แถมยังทำให้ร่างกายบวมน้ำอีกด้วย แค่ความหวานกับเค็มก็ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมายแล้ว คงไม่ต้องพูดถึงความมันจากไขมันและเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่แสนจะอร่อย และหักห้ามใจไม่ไห้กินได้ยากเหลือเกิน
แม้จะรู้ดีว่าอาหารรสอร่อยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับสุขภาพร่างกาย แต่ครั้นจะให้กินเฉพาะอาหารรสชาติจืดๆ หรือพืชผักใบเขียวตลอดเวลา ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและทำให้ชีวิตไม่มีความสุข ทุกวันนี้เราจึงเห็นความพยายามในการพัฒนาปรับสูตรอาหาร เพื่อให้ได้ทั้งรสชาติอาหารที่อร่อยและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยปัจจุบันอาหารสุขภาพที่คนทั่วโลกรวมถึงคนไทย นิยมหันมาบริโภคกันมากขึ้นก็คือ “อาหารคลีน” หรือ “Clen Food” อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่าง ๆ หรือผ่านการแปรรูป หมัก ดอง และปรุงรส น้อยที่สุด เพื่อลดการได้รับความหวาน มัน เค็ม มากเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการจนก่อให้เกิดโทษ
เอาล่ะ.. ไหนๆ ก็เขียนถึงอาหารคลีนขึ้นมาแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นไอเดียสำหรับคนที่เพิ่งหันมากินอาหารคลีน หรือใครที่กินมาสักพักแต่อยากลองเปลี่ยนเมนูใหม่ๆ สลับสับเปลี่ยนเพื่อความแปลกใหม่ เราได้รวบรวม 4 เมนูอาหารคลีนที่ทำง่ายแถมยังกินได้บ่อยๆ ไม่น่าเบื่อมาฝาก
- สุกี้ผักรวม : เชื่อว่าสุกี้น่าจะเป็นเมนูแรกๆ ที่หลายคนนึงถึง เมื่อต้องการกินผักให้มากขึ้นและลดการบริโภคแป้งหรือไขมันให้น้อยลง ด้วยวัตถุดิบที่เน้นผักนานาชนิดด้วยการต้มในน้ำเดือด และไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรุงมากมายก็อร่อยได้ ทำให้ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์และไม่ปรุงแต่งจนเกินไป
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการให้ดูสุขภาพดียิ่งขึ้น คือเนื้อสัตว์ควรเป็นอกไก่หรือปลาเท่านั้น และไม่ใส่น้ำจิ้มลงไปต้มรวมในหม้อ หากต้องการให้มีรสชาติก็ควรจิ้มน้อยๆ อย่ามาจนเกินไป
- ข้าวกล้องคลุกไข่ต้มและทูน่า : หนึ่งในไอเทมสำคัญของเมนูอาหารคลีนก็คือข้าวกล้อง เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน อุดมด้วยวิตามินบี วิตามินอี ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญ เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีเส้นใยอาหารที่ดีสูงมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหาร ยังมีส่วนช่วยป้องกันไขมันชนิดอิ่มตัวถูกดูดซึมเข้าสู่กระเพาะอาหารอีกด้วย เมนูนี้ทำง่ายเพียงแค่เอาไข่ต้มและเพ่ิมรสชาติด้วยทูน่าในน้ำแร่นำมาคลุกกับข้าว เท่านี้ก็ได้เมนู
- นมจืดใส่ธัญพืช : เมนูนี้เหมาะสำหรับทำเป็นอาหารเช้าที่เร่งรีบ เพราะไม่มีขั้นตอนอะไรที่ยุ่งยากแม้แต่นิดเดียว แค่เทนมจืดในแก้วและใส่ธัญพืชต่างๆ เช่น อะโวคาโด แอลมอน งาดำ และอื่นๆ แล้วแต่ว่าชอบ เพียงเท่านี้ได้สุขภาพที่ดีพร้อมลุยงานหนักแล้ว
- สเต็กอกไก่ – สเต็กปลา : ไม่จำเป็นเสมอไปที่อาหารเพื่อสุขภาพจะต้องเป็นผักหรือผลไม้เท่านั้น เนื้อสัตว์ก็สามารถนำมาทำอาหารสุขภาพได้เช่นกัน แต่.. ไม่ใช่เนื้อสัตว์ทุกประเภทที่จะสามารถเอามาทำได้ ยกเว้น “ไก่” และ “ปลา” วิธีทำก็ไม่ยากแค่เอาเนื้อสัตว์มาย่างให้กริลล์ให้สุกในกระทะ เพ่ิมรสชาติด้วยการโรยเกลือและพริกไทยดำได้นิดหน่อย ถ้าจะให้อร่อยยิ่งขึ้นก็อาจมีเครื่องเคียงเป็นผักและธัญพืชด้วย เช่น มะเขือเทศ ถั่วแดง ข้าวโพด และผักกาดหอม
เนื้อหาจาก https://www.pptvhd36.com/health/food/29
ติดตามอ่านต่อได้ที่ in-languages.com
Economy
-
อพท.ผนึก 12 ภาคีผลักดัน “พัทยา” สู่ศูนย์กลางอุตฯภาพยนตร์
อพท.ผนึก 12 ภาคีผลักดัน “พัทยา” สู่ศูนย์กลางอุตฯภาพยนตร์
กรุงเทพฯ 1 มิ.ย.- อพท. ผนึก 12 องค์กร โชว์ความพร้อมเมืองพัทยา หนุนขึ้นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของยูเนสโก และศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สร้างเป็นจุดขายใหม่ ดึงนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรืออพท. เปิดเผยว่า อพท. ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการ “ขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ของยูเนสโก และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์”
ร่วมกับ 12 องค์กร ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเมืองพัทยา กรมการท่องเที่ยว สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทย และสมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย
เป้าหมายเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ในการส่งเสริมสนับสนุน ขับเคลื่อนภารกิจเมืองพัทยาสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ของยูเนสโก และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อกระตุ้นการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ ภายใต้ความร่วมมือดำเนินงานในระยะ 5 ปี
“พัทยามีองค์ประกอบที่เหมาะสมทั้งทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติและบริบทของเมือง มีทุนทางวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยว เป็นจุดหมายปลายทางที่มีชื่อเสียงระดับสากล สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและทีมงานกองถ่ายทำภาพยนตร์ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และกองถ่ายทำภาพยนตร์ของไทย และมีความพร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก” นาวาอากาศเอก อธิคุณ กล่าว
ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงฉบับ พ.ศ. 2566-2570 ในพื้นที่เมืองพัทยา เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาเมืองพัทยา สู่การเป็นเมืองภาพยนตร์ในระยะ 5 ปี (2565-2570) ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ (City of Film) โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และศักยภาพการเป็นเมืองท่องเที่ยวให้สูงขึ้น
สำหรับการยกระดับเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศเข้าสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก
ปัจจุบันประเทศไทยมีเมืองเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก 5 แห่ง ได้แก่
1) จังหวัดภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร
2) จังหวัดเชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและพื้นบ้าน
3) กรุงเทพมหานคร เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ
4) จังหวัดสุโขทัย เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และ
5) จังหวัดเพชรบุรี เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดเพชรบุรี คือเมืองที่ อพท. เข้าไปผลักดันจนเป็นผลสำเร็จได้รับเลือกเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์
และในปีนี้ อพท. อยู่ระหว่างดำเนินการผลักดันจังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี จังหวัดน่าน ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรม และเมืองพัทยา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ ซึ่งทางยูเนสโกมีหลักเกณฑ์พิจารณาว่า เมืองที่จะได้รับการรับรองต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านนั้น ๆ อย่างชัดเจน.-สำนักข่าวไทย
อบคุณแหล่งที่มา : tna.mcot.net
Latest News
บาเยิร์น มิวนิค คว้าแชมป์บุนเดสลีกา 8 สมัยติดต่อกัน
บาเยิร์น มิวนิค คว้าแชมป์...
บัสของเรามุ่งหน้าไปยัง ‘Toyota Shiragawa-go Eco Institute’
วันรุ่งขึ้น รถบัสของเรามุ...
M2 MacBook Air ของ Apple มีมูลค่ามากกว่า M1 ถึง 200 ดอลลาร์
MacBook Air ของ Apple เป็...
อาหารเพื่อสุขภาพ กินอย่างไรให้ร่างกายได้รับสารอาหารเกินพอ?
นอกจากการออกกำลังกายอยู่เ...